
กวอโส่วจิ้ง (郭守敬) ค.ศ.1231 – 1316 หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ยั่วซือ (若思) เป็นทั้ง นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักชลประทานที่มีความรู้ความสามารถยอดเยี่ยมคนหนึ่งในสมัย โบราณของจีน เขาเกิดที่เมืองสิงไถ มณฑลเหอเป๋ย ปู่ของเขาที่ชื่อ กวอหรง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และ การชลประทาน และเป็นบุคคลซึ่งมีอิทธิพลต่อกวอโส่วจิ้งอย่างมาก ตั้งแต่วัยเด็ก เขาชอบสังเกตและ ขบคิดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อีกทั้งชอบประดิษฐ์เครื่องมือกลไก ในขณะที่อายุยัง น้อยเขาก็สามารถคิดประดิษฐ์เครื่องวัดเวลาและเครื่องมือทางดาราศาสตร์อย่างง่ายๆ หลายชิ้น รวมทั้งวาง แผนควบคุมน้ำในแม่น้ำสายเล็กๆ 3 สายแถวบ้านเกิดของเขา กวอโส่วจิ้งจึงกลายเป็นคนมีชื่อเสียงในพื้นที่ แถวนั้น เมื่ออายุได้ 19 ปี กวอโส่วจิ้งเดินทางจากบ้านมาที่จื่อจินซาน เขตอำเภออู่อัน มณฑลเหอเป่ย เพื่อ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลิวปิ่งจง และได้ร่ำเรียนวิชาทั้งด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์และการ ชลประทานจากนักปราชญ์ชื่อดังท่านนี้ ถึงปีค.ศ.1260 กุบไลข่านขึ้นครองอำนาจเป็นข่านแห่งมองโกเลีย ขณะนั้นแม้จะยังไม่ได้สถาปนา ราชวงศ์หยวน แต่มองโกลก็ครอบครองดินแดนประเทศจีนได้จำนวนมากแล้ว กุบไลข่านได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่บริเวณกรุงปักกิ่ง ตั้งชื่อว่า “ต้าตู“ พระองค์ได้ทรงสั่งให้หลิวปิ่งจงมาช่วยวางแผนสร้างเมือง ขณะ เดียวกันลูกศิษย์หนุ่มกวอโส่วจิ้งก็พลอยมาเข้ารับราชการด้วยและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบงาน ชลประทานตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ระหว่างที่เขารับตำแหน่ง กวอ โส่วจิ้งได้วางแผนและรับผิดชอบควบ คุมน้ำในแม่น้ำลำคลองใหญ่น้อยจำนวนหลายร้อยสาย เมื่อกุบไลข่านสามารถตีหางโจว เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งใต้ได้สำเร็จในปีค.ศ.1276 พระองค์มี พระราชโองการให้กวอโส่วจิ้งกับหวังสุนนักคณิตศาสตร์มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่งในสมัยนั้น แก้ไขปรังปรุงปฏิทิน เสียใหม่ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น กวอโส่วจิ้งได้เสนอความเห็นว่า สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดในการจัดทำปฏิทินคือ จะ ต้องตรวจสอบวันเวลาให้ละเอียดถูกต้องและจะตรวจสอบให้ถูกต้องก็ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้วัดได้อย่างละเอียด ถี่ถ้วนเสียก่อน ต่อจากนั้นเขาก็พยายามค้นคว้าจนสามารถออกแบบเครื่องมือวัดทางดาราศาสตร์ที่ดีกว่า ของเดิมหลายชิ้น เช่น เครื่องหาตำแหน่งของดาว อุปกรณ์ดูดาว เครื่องวัดฤดูกาล เป็นต้น หลังจากปรับปรุงอุปกรณ์ในการวัดให้ดีขึ้นแล้ว กวอโส่วจิ้งซึ่งได้เสนอให้จัดสร้างหอดูดาวที่เมือง หลวงต้าตู (ปักกิ่งในปัจจุบัน) และตั้งจุดสังเกตการโคจรของดาวตามสถานที่ต่างๆ อีก 26 จุดทั่วประเทศ จีน ก็ได้เริ่มงานสังเกตการณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลทางดาราศาสตร์เป็นการใหญ่ ข้อมูลจำนวนมากที่เขา รวบรวมขึ้นจากการลงมือสังเกตการณ์ด้วยตัวเองเหล่านี้ นับเป็นข้อมูลที่ก้าวหน้าทันสมัยที่สุดในโลกสมัยนั้น เมื่อได้สังเกตการณ์ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลมาเป็นเวลา 4 ปี กวอโส่วจิ้ง หวังสุนและผู้ร่วมงาน คนอื่นๆ ก็สามารถจัดทำปฏิทินฉบับใหม่ได้สำเร็จในปีค.ศ.1280 กุบไลข่านได้ทรงประกาศใช้ปฏิทินฉบับนี้ ทั่วประเทศในปีถัดมา โดยทรงตั้งชื่อว่า “โซ่วสือลี่“ แปลว่า “ปฏิทินแจ้งวันเดือนปี“ ซึ่งมาจากประโยคที่ว่า “จิ้งโซ่วหมินสือ“ แปลว่า “แจ้งวันเดือนปีแก่ประชาราษฎร์“ ที่ปรากฏในหนังสือ “ซ่างซู“ หมวด “หยาว- เตี่ยน“ ของขงจื๊อ จุดเด่นที่สุดของปฏิทินฉบับโซ่วสือลี่อยู่ที่ได้กำหนดว่า 1 ปีสุริยคติเท่ากับ 365.2425 วัน ซึ่งผิด ไปจากการคำนวณของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพียง 26 วินาที ในปีค.ศ.1292 กวอโส่วจิ้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบหอดูดาวและการชลประทานของเขต เมืองหลวง แม้จะอายุกว่า 60 ปีแล้ว แต่เขาก็เดินทางไปตรวจงานชลประทานตามท้องที่ต่างๆ เกือบทั่วเขต ต้าตู และได้จัดทำข้อเสนอ 11 ประการเกี่ยวกับการสร้างคลอง “ต้ายวิ่นเหอ“ ในช่วงที่ขุดมาถึงเมืองหลวง อีกทั้งได้ออกแบบแนวคลองที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยิ่ง งานขุดคลองช่วงนี้เสร็จสิ้นลุล่วงไปภายในเวลาเพียงปีครึ่ง และได้ชื่อว่า “แม่น้ำทงฮุ่ยเหอ“ นับ แต่นั้นมา คลองขุดต้ายวิ่นเหอที่ขุดกันมาหลายต่อหลายครั้งเป็นเวลากว่าพันปี ก็เป็นอันเรียบร้อยสมบรูณ์ สามารถเชื่อมต่อระหว่างหางโจวทางภาคใต้จนถึงปักกิ่งในภาคเหนือเป็นระยะทางเกือบ 1,800 กิโลเมตร ด้วยเหตุที่กวอโส่วจิ้งมีผลงานสำคัญมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางดาราศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1970สมาคมดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ จึงได้ตั้งชื่อปากปล่องภูเขาไฟลูกหนึ่งบนดวงจันทร์ว่า “กวอ- โส่วจิ้ง“ เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณผู้นี้
 รูปปั้นกวอโส่วจิ้ง ตั้งอยู่ที่หอระลึกกวอโส่วจิ้ง กรุงปักกิ่ง

อุปกรณ์ดาราศาสตร์จำลองที่กวอโส่วจิ้งประดิษฐ์
 หอดูดาวกวอโส่วจิ้งในสมัยราชวงศ์หยวน
|