เลือกอ่านสามก๊กอย่างไรดี

เลือกอ่านสามก๊กอย่างไรดี

 

 

เลือกอ่านสามก๊กอย่างไรดี?

โดย ชัชวนันท์  สันธิเดช
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
http://artdragon.hi5.com

แชมป์ "แฟนพันธ์แท้" แผ่นดินมังกร ปี2007
แชมป์ "แฟนพันธ์แท้" สามก๊ก ปี2008

 

       จะเริ่มต้นอ่านสามก๊กอย่างไรดี? นี่เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อยที่สุดไม่ว่าจะไป
ที่ไหนเนื่องจากสามก๊กที่วางขายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ แปล
เขียน หรือแต่งโดยนักเขียนมากมายไม่ซ้ำหน้า ดังนั้นก่อนที่จะตอบคำถามว่า หนังสือ
สามก๊กชุดใดน่าอ่านที่สุด? สามก๊กของใครมีจุดดีจุดด้อยอย่างไร?  ผมขอแยกประเภท
หนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “สามก๊ก” ในภาคภาษาไทยเป็น 3 ประเภท คือ

1. สามก๊กมาตรฐาน - เป็นสามก๊กในรูปแบบการแปล (ทั้งแบบสมบูรณ์และเกือบ
สมบูรณ์)โดยแปลมาจากต้นฉบับภาษาจีนแบบครอบคลุมหรือเกือบครอบคลุมเนื้อหา
ทั้งหมด
เป็นการแปลแบบคำต่อคำ หรือเกือบจะคำต่อคำ หรืออาจตัดตอนเนื้อหาบาง
ส่วนออกไปบ้างด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม  โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ (หรือ
เกือบจบ) ตามแบบต้นฉบับ
และไม่ได้มีการใส่ความคิดเห็นของตัวเองแทรกไว้ในตัวเนื้อ
เรื่อง หรือหากจะมีก็เป็นเพียงฟุ้ตโน้ตหรือเขียนใส่กรอบไว้ข้างๆ หรือเขียนเพิ่มเติมไว้
ด้านท้ายเล่ม หรือระหว่างบทเท่านั้นตัวอย่างหนังสือสามก๊กไทยในประเภทนี้ ได้แก่

- สามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือ ฉบับหอพระสมุด
 
- สามก๊ก แปลโดย วรรณไว พัธโนทัย
 
- สามก๊ก แปลโดย วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์
 
- สามก๊ก แบบมีภาพลายเส้นประกอบ แปลโดย วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์
 
- ซำก๊ก (สามก๊กแต้จิ๋ว) แปลโดย สันติ ลิ้มไพฑูรย์ ฯลฯ

2.เล่าเรื่องสามก๊ก ได้แก่ สามก๊กที่ไม่ใช่หนังสือแปลโดยตรง แต่เป็นการเล่าเรื่อง
ราวด้วยคำพูด ผ่านการวิเคราะห์วิจารณ์และใส่ความคิดเห็นของตัวเอง ตลอดจนความ
รู้เนื้อหาอื่นๆปนลงไปด้วยไม่มากก็น้อย เปรียบได้ดั่งผู้เขียนได้อ่านสามก๊กฉบับเต็มมา
แล้ว จึงนำมาเล่าให้เราฟังอีกทอดหนึ่ง
โดยอาจไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่หนึ่งถึง
สิบ แต่อาจจะเลือกหยิบตัวละครแต่ละตัวขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องราวเท้าความตามเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นกับชีวิตตัวละครนั้นๆ หรืออาจเล่าเฉพาะบางช่วงบางตอนที่อยากเล่า เช่น

- สามก๊ก ฉบับ “วณิพก” ของยาขอบ อันโด่งดัง

- สามก๊ก ฉบับ “คนเดินดิน” โดย เล่า ชวน หัว

- สามก๊ก ฉบับ “นายทุน” ของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์

- พิชัยสงครามสามก๊ก ของ สังข์ พัธโนทัย

- สามก๊กฉบับ “หัวกะทิ” ของ ทำนุ นวยุค

- สามก๊ก ฉบับ “คนขายชาติ” ของ เรือง วิทยาคม

( อันนี้เล่าไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์จนเกือบจะเป็นสามก๊กมาตรฐานได้เหมือนกัน) ฯลฯ

3.หนังสือประกอบสามก๊ก – คือหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับสามก๊ก แต่ไม่ใช่การแปลมา
โดยตรง หรือไม่ได้จงใจที่จะเล่าเรื่อง แต่เน้นการวิเคราะห์วิจารณ์เสียมากกว่า หนังสือ
ประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายร้อยเล่มในท้องตลาด บ้างก็เขียนแบบง่ายๆ โดยนำบาง
เหตุการณ์หรือบางตัวละครในสามก๊กมาวิจารณ์เหมือนคุยให้ผู้อ่านฟัง บ้างก็แปลมาจาก
หนังสือประกอบสามก๊กที่คนจีนเขียนไว้อีกทอดหนึ่ง บ้างก็นำเอาเหตุการณ์ในสามก๊ก
ไปเปรียบเทียบกับการบริหารธุรกิจ บริหารองค์กร การใช้ชีวิต จิตวิทยา ฯลฯ แต่โดยภาพ
รวมแล้ว เป็นการหยิบประเด็นต่างๆมาคุยกับผู้อ่าน บางเล่มมีการเจาะลึกข้อมูลบางอย่างที่
น่าสนใจและไม่มีระบุไว้ในสามก๊กมาตรฐาน นอกจากนี้ “เรื่องแต่ง” ต่างๆ ที่แต่งเพิ่มขึ้น
จากวรรณกรรมเดิม โดยใช้จินตนาการของนักเขียนยุคหลังๆ ก็ขอจัดให้อยู่ในประเภทนี้
หรือแม้แต่หนังสือที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของสามก๊กในประเทศไทย อย่าง “ตำนาน
เรื่องสามก๊ก” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ที่นิยมขายรวมกับสามก๊กมาตรฐานฉบับหอพระสมุด ก็ขอจัดไว้ในประเภทนี้เช่นกัน

       ในตอนหน้าจะนำเอาหนังสือสามก๊กฉบับหลักๆที่น่าสนใจมาชี้ชัดให้
ฟัง
ว่าเล่มไหน ดี-ไม่ดี อย่างไร มีอะไรที่น่าสนใจ ควรอ่านเล่มใดก่อนหลัง
สำหรับผู้เริ่มต้น โปรดติตตามครับ!!

Date

27 เมษายน 2564

Tags

แผ่นดินมังกร