โกะคืออะไร

โกะคืออะไร

 


โกะคืออะไร?

 

โกะคืออะไร ?
หมากล้อม(โกะ)เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมานานกว่า 3000 ปี และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นมาก
จนได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 4 ของศิลปะประจําชาติจีน อันได้แก่การวาดภาพ การเขียนตัวอักษร และหมากล้อม

กระดานโกะมาตรฐานจะมีเส้นตั้ง 19 เส้น ตัดกับเส้นนอน 19 เส้น เกิดจุดตัดกัน 361 จุด ผู้เล่น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถือหมากดําอีกฝ่ายถือหมากขาว เมื่อเริ่มเล่นจะเริ่มต้น โดยผลัดกันวางหมากของตนครั้งละ 1 เม็ด ตรงจุดตัดจุดใดๆก็ได้ที่ว่างอยู่บนกระดาน ปกติแล้วฝ่ายที่ถือหมากดําจะเป็นผู้เริ่มวางหมากก่อน และเพื่อเป็นการชดเชยการเสียเปรียบของผู้ถือหมากขาวเมื่อนับคะแนนตอนจบผู้ถือหมากดําจะต้องให้แต้มกับผู้ถือหมากขาว 5 แต้มครึ่ง สําหรับผู้เล่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน

กฎกติกาการเล่นหมากล้อม

แบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ได้ดังนี้
1. เป้าหมายการเล่นหมากล้อม
คือเล่นบนจุดตัดเส้น เพื่อยึดครองพื้นที่บนกระดานให้ได้เกินครึ่งหรือมากกว่า 181 จุดขึ้นไป ส่วนการนับคะแนนเมื่อจบเกมจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อหมากดําและหมากขาวไม่มีจุดที่สามารถลงได้ต่อไป เพราะในพื้นที่จะถูกครอบครองโดยฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว สําหรับหมากของแต่ละฝ่ายที่ถูกกินเป็นเชลยจะถูกเก็บออกนอกกระดาน
2.
การถูกจับเป็นเชลย
ลักษณะของหมากเป็นและหมากตาย การเล่นหมากล้อมให้ชนะนั้น นอกจากพยายามเดินหมากเพื่อล้อมพื้นที่ให้ได้มากที่สุดแล้ว การจับคู่ต่อสู้เป็นเชลยและการบุกเข้าไปทําลายพื้นที่ของคู่ต่อสู้ เป็นกลยุทธ์ที่สําคัญอีกประการหนึ่ง
3. โค(การต่อรอง)
คือลักษณะของหมากที่ผลัดกันกินไม่มีวันสิ้นสุด จึงต้องมีกฎบัญญัติว่าในกรณีโคห้ามฝ่ายตรงข้ามกินกลับทันที แต่จะต้องวางหมากที่อื่นก่อน 1 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามพิจารณาว่าจะยุติโคหรือตามไปรับมือ ซึ่งในการที่ไปวางหมากที่อื่นหลังกรณีโค จะต้องพยายามหาจุดที่เป็นอันตรายของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ต้องตามไปรับมือ เรียกว่าข้อต่อรอง

การนับคะแนน

แบ่งเป็น 2 แบบคือ
1.
การนับแบบจีน จะนับจากพื้นที่และหมากทุกเม็ดที่อยู่บนกระดานของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเมื่อเกมส์จบลงโดยจะไม่คํานึงถึงหมากที่ถูกกินเป็นเชลย และจะนับเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะถ้าฝ่ายหนึ่งได้คะแนนมากกว่า 181 จุด ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
2. การนับแบบญี่ปุ่น
จะนับเฉพาะพื้นที่ที่แต่ละฝ่ายสามารถเอามาล้อมไว้เป็นของตนเองได้ และจะนําหมากที่เป็นเชลยมาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือเมื่อหมากขาวและหมากดําถูกกินเป็นเชลยของแต่ละฝ่ายแล้ว หลังจากเกมจบลงจะต้องเอาหมากที่เป็นเชลยถมในพื้นที่ที่เป็นของฝ่ายนั้น เช่นถ้าหมากขาวที่ถูกหมากดํากินเป็นเชลย ก็จะถูกนํามาถมในพื้นที่ของหมากขาว เป็นผลทําให้พื้นที่ของหมากขาวลดลงไป เมื่อถมจนหมดแล้วก็นับคะแนนจากพื้นที่ที่เหลืออยู่บนกระดาน

การเล่นโกะจะเป็นการฝึกนิสัย ทัศนคติ

1. การวางแผน การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล มิใช่อารมณ์
2. ความสําเร็จจะเกิดได้จากการผสมผสานระหว่างนโยบาย , กลยุทธ์และยุทธวิธีที่ดีพร้อม มิใช่โดยโชคช่วยหรือความบังเอิญ และนโยบายที่ดีจะต้องมีพื้นฐานมาจากทัศนคจิที่ดีเท่านั้น
3. การปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะปรับปรุงตามสถานภาพใหม่
4. ผู้ที่ไม่พัฒนาย่อมล้าหลัง และล่มสลายในที่สุด คือเราควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในการพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแรงมั่งคงของเรา จะทําให้เราทิ้งห่างคู่ต่อสู้ไปได้เอง ไม่ควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในการทําลายล้างฝ่ายเพราะกําลังที่มุ่งใช้ในการทําลายล้าง มักมีผลย้อนกลับที่รุนแรง
5. การแบ่งปันส่วน ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีทางได้ทั้งหมด เมื่อเราได้มาเราก็เตรียมเสียแล้วค่อยหาทางได้กลับมา
6. การจัดลําดับความสําคัญของงานต่างๆ โดยเพาะงานด่วนที่ต้องทําก่อนงานใหญ่เสมอ
7. การจัดดุลยภาพระหว่างเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตเสมือนดูแลสนามรบต่างๆในสงคราม อย่าชนะสนามรบแต่แพ้สงคราม
8. ศึกษากําลังที่เกิดจากการรวมตัวเป็นกลุ่มของหมากบนกระดาน การเปรียบเทียบกําลังและสุดท้ายคือการใช้กําลังอย่างมีธรรมมะเพื่อการสร้างสรรค์
9. การรู้จักประมาณและการเคารพผู้อื่น ในฐานะที่ต่างมีโอกาสเท่าเทียมกัน
10. เมื่อผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีฝีมือทัดเทียมกัน คนแพ้คือคนที่ผิดมากกว่าจึงฝึกให้มีความสุขุมรอบคอบ ควบคุมตัวเองให้ทําผิดน้อยที่สุดรู้จักอดทนอดกลั้น โดยพยายามประคองตัวเองเมื่อเพลี่ยงพล้ำ แม้ว่าจะเล่นแพ้ก็จะให้ประโยชน์ในด้านการเตือนสติให้สํารวจตัวเองว่าเราทําผิดอะไรไปบ้าง จุดบกพร่องของเราอยู่ที่ไหน

บัญญัติ 10 ประการ ของการเล่นหมากล้อม

1. เล่นมุม ข้าง กลางตามลําดับ
2. เล่นให้ได้ผล 2 เท่าทุกครั้งที่มีโอกาส
3. ยืนด้วยมั่นคง 2 เท้าที่แยกจากกัน(อยู่ข้างบนเส้น 3,4 ด้วย 2 เม็ด)
4. มัดทางออก 2 ประตู
5. งานด่วนมาก่อนงานใหญ่(งานด่วนคือความเป็นความตายของกลุ่มหรือเม็ดเดียวที่มีโอกาสสร้างเป็นกลุ่ม)
6. ล้อมเขา อย่าให้เขาล้อม
7. ตัดเขา อย่าให้เขาตัด(ต้องระวังเม็ดตัด อย่าถูกกิน จะตัดต้องตัดให้สําเร็จ)
8. จะล้อมเขาให้อยู่ห่าง จะดิ้นออกจากวงล้อมให้เข้าประชิด
9. ให้เดินออกจากชุดที่อ่อนแอ เมื่อเวลาจะล้อมซึ่งกันและกันและเวลาจ้องจับกินกัน
10. ชิดชิดด้วย ห่างห่างด้วย(การเข้าประชิดคือการเข้าตะลุมบอน ผู้บุกรุกจะเสียเปรียบ เพราะเจ้าถิ่นเป็นผู้มีสิทธิ์เพิ่มกําลังก่อน

 

 

 

 

 

 

Date

27 เมษายน 2564

Tags

พิณ หมากรุก ลายสือศิลป์ ภาพวาด