อุทยานของจีนมีประวัติศาสตร์มาช้านาน อุทยานเป็นสิ่งรวมศิลปะหลายด้าน ทั้งศิลปะการก่อสร้าง แบบโบราณ การวาดภาพ การเขียนอักษรลายมือจีน บทกวี การแกะสลัก และศิลปะการตกแต่งอุทยาน ศิลปะเหล่านี้ผสมผสานธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียว อุทยานของจีนจึงมีฐานะสำคัญในประวัติศาสตร์ด้านอุทยาน ของโลก สมัยราชวงศ์ซังและราชวงศ์โจว ซึ่งมีประวัติศาสตร์ 3000 กว่าปี ก็ปรากฏสวนขนาดเล็กของจีนชื่อ “อิ้ว” อิ้วเป็นสถานที่สำหรับล่าสัตว์และเป็นที่เพื่อความร่าเริงบันเทิงของพระจักรพรรดิหรือเหล่าข้าราชบริพาร การจัดตกแต่งอุทยานได้พัฒนามาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ และสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เวลานั้นอิ้วค่อยๆ เปลี่ยนจากการถือเอาพระราชวังเป็นหลักมาถือเอา ธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง (ประมาณ ศตวรรษที่ 10-19) การก่อสร้างอุทยานของจีนก้าวเข้าสู่สมัยเจริญรุ่งเรือง โดยทั่วไปอุทยานจะประกอบด้วย ห้องโถง ห้องใหญ่ ตึก ตึกขนาดเล็ก ศาลา หอสังเกตการณ์ ศาลาริมน้ำ ระเบียง และเขากับน้ำ ห้องโถงเป็นสถานที่รับแขก จัดงานเลี้ยง ชมไม้ดอกและดูการแสดง ห้องโถงเน้นหนักที่การแกะสลักฉลุลวดลายของหน้าต่างและประตู ห้องใหญ่เป็นสถานที่ของเจ้าของบ้าน การตกแต่งหรูหรา โดยทั่วไปมีฉากไม้ฉลุลวดลายเป็นฉากกั้น หรือไม่ก็ตู้โชว์ศิลปหัตถกรรมกั้นหลังห้องโถงและห้องใหญ่เป็นตึก ใช้เป็นห้องนอนและห้องอ่านหนังสือ หรือชมทิวทัศน์ ตึกขนาดเล็กมีหน้าต่างทั้ง 4 ทิศ ใช้เก็บหนังสือ ชมทัศนียภาพ หรือเป็นสถานที่บูชาพระพุทธรูป ศาลา หอสังเกตการณ์ ศาลาริมน้ำ และระเบียง เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์โดยเฉพาะ ศาลา มีรูปทรงต่างๆ มีรูปกลม รูปสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม รูปพัดพับ ศาลามักจะอยู่ติดกับระเบียงที่ ปลายทาง หรืออยู่ตรงทางเลี้ยว เป็นสถานที่พักผ่อนและชมทิวทัศน์ หอสังเกตการณ์อุทยานราชสำนักมักใช้ พระราชวังกับสวนดอกไม้เป็นหอสังเกตการณ์ ศาลาริมน้ำนั้นตัวศาลาด้านหนึ่งอยู่บนบกอีกด้านหนึ่งอยู่ริมน้ำ ใช้เป็นสถานที่ชมสระน้ำ ระเบียงเป็นส่วนเชื่อมต่อตัวอาคารละสิ่งก่อสร้างต่างๆ
 สวนหลิวหยวน 1 ใน 4 สวนที่มีชื่อเสียงของเมืองซูโจว สร้างในราชกาลวั่นลี่สมัยราชวงศ์หมิง ประตู หน้าต่าง และฉากกั้นในห้องหนึ่งแกะสลักฉลุลวดลายประณีตงดงาม  ประตูที่สร้างด้วยอิฐของสวนกังซือหยวน ลวดลายแกะสลักสวยงดงาม  หน้าต่างไม้แกะสลักฉลุลวดลาย ในสวนจัวเจิ้งหยวน  ทางเดินที่ปูลาดด้วยกรวดหิน และประกอบเป็นลวดลาย
นักจัดสวนโบราณของจีนมีวิธีออกแบบและตกแต่งสวนที่สมบูรณ์แบบหนึ่ง วิธีออกแบบและตกแต่ง จะใช้เทคนิคต่างๆ อันได้แก่ วิธีการแอบซ่อน วิธีกางล้อมกรอบ การทะลุ การเสริม เทคนิคการคู่ขนาน หลักแห่งความสมดุล และวิธีการบัง ฯลฯ
วิธีแอบซ่อนทิวทัศน์คือ แอบซ่อนทิวทัศน์ที่ต้องการจะให้ชมไว้ก่อน ไม่ให้ผู้ชมทิวทัศน์ แวบเดียวก็เห็นทิวทัศน์ได้ทั้งหมด ต่อเมื่อผู้ชมเดินผ่านทางคดเคี้ยวเลี้ยวไปนิดถึงจะเห็นทัศนียภาพเพื่อให้คนดู เบิกบานใจ
การล้อมกรอบเป็นวิธีสร้างทิวทัศน์ให้น่าสนใจโดยทำให้ทิวทัศน์นั้นมีลักษณะพิเศษ คือใช้ช่องต้นไม้คล้ายๆ กับกรอบภาพ หรือประตู หน้าต่างล้อมกรอบทัศนียภาพทางไกล ทำให้คนชมเกิดภาพลวงตา ดูคล้ายกับว่าทิวทัศน์จริงเปลี่ยนเป็นภาพวาด วิธีการสร้างทิวทัศน์ต่างๆ ก็เพื่อให้ทิวทัศน์มีความหลากหลาย และให้คนเที่ยวชมเกิดความสนุกสนาน นอกจากนี้ก็ใช้หลักแห่งความสมดุลและอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดศิลปะการจำลอง ธรรมชาติอย่างงดงาม
อุทยานของจีนแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อุทยานราชสำนัก กับอุทยานส่วนบุคคล นอกจากสองประเภทที่กล่าวแล้วยังมีอุทยานทิวทัศน์ธรรมชาติ กับสวนวัด
เนื่องจากประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ท้องถิ่นต่างกันอุทยานราชสำนักและอุทยานส่วนบุคคลจึงมีรูปแบบแตกต่างกัน อุทยานราชสำนักส่วนใหญ่ชุมนุมอยู่ที่ภาคเหนือของจีน มีชื่อเสียงในแง่ความใหญ่โตมโหฬารและหรูหรา เช่น สวนอี๋เหอหยวน พระราชวังพักฤดูร้อนปี้สู่ซานเมืองเฉิงเต๋อ อุทยานส่วนบุคคลส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ มีขนาดเล็กกระจุ๋มกระจิ๋ม เช่น สวนจัวเจิ้งหยวน สวนชางร่างถิงที่เมืองซูโจว และสวนชิงฮุยหยวนที่กวางตุ้ง อุทยานทิวทัศน์ธรรมชาติกับสวนวัดค่อยๆ ก่อตัวภายในเวลาอันยาวนาน ไม่พิถีพิถัน ประณีตและหรูหราเท่ากับอุทยานราชสำนักและอุทยานส่วนบุคคล แต่ให้ความงามในแง่ของความกลมกลืนและความกะทัดรัด

พระราชวังพักฤดูร้อนปี้สู่ซานจวงเมืองเฉิงเต๋อ เป็นอุทยานราชสำนักที่ใหญ่และคลาสสิกที่สุดในจีน มีเนื้อที่ 5,640,000 ตารางเมตร  สวนจัวเจิ้งหยวนที่เมืองซูโจวเป็นสวนคลาสสิก ชื่อดังของจีน ก่อสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง
อุทยานแบบตะวันตกที่ถือว่าสวยงามเป็น “อุทยานแบบเรขาคณิต” ไม้ดอกไม้ประดับปลูกเป็นรูปต่างๆ หรือไม่ก็ต้อง “ตัดแต่งรูปทรง” เป็นรูปทรงเรขาคณิต กลมบ้างเหลี่ยมบ้าง แต่อุทยานของจีนถือเอาหลักธรรมชาติ จำลองทิวทัศน์ธรรมชาติของต้นไม้ ภูเขา น้ำ ฯลฯ มาประดับตกแต่ง ชุมนุมกันเป็นธรรมชาติ จึงทำให้อุทยานเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งกวี หลังจากศตวรรษที่ 13 ด้วยการแนะนำของมาโคโปโล และบาทหลวง อุทยานจีนก็เป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรป ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 การก่อสร้างอุทยานของประเทศต่างๆ ในยุโรปปรากฏว่าต่างก็ “นิยมจีน” ปี ค.ศ.1775 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส มีพระบรมราชโองการให้ตัดต้นไม้ที่ถูกตัดประดับแล้วในอุทยานของพระราชวังแวร์ซายให้หมด แล้วสร้างเป็นอุทยานแบบจีน ในประเทศเยอรมัน สวีเดน อิตาลี รัสเซียต่างก็สร้างอุทยานแบบจีนขึ้น
เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 แห่งศตวรรษนี้ บริษัทสร้างสรรค์อุทยานแห่งประเทศจีนตอบรับคำเชิญจากสวีเดน อียิปต์ ออสเตรีย อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน และฮ่องกง ที่จะรับออกแบบและก่อสร้างอุทยานแบบจีนหลายแห่ง อุทยานแบบจีนได้รับความนิยมชมชอบจากชาวต่างประเทศมากขึ้น
 ในสวนเป๋ยไห่ ซึ่งเป็นอุทยานราชสำนักสมัยราชวงศ์ชิงมีสวนขนาดย่อมหลายแห่ง ที่เห็นในภาพนี้คือ ภาพภายในสวน  สวนหวาซิงฉือที่เชิงเขาลี่ซาน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี เรื่อง หยางกุ้ยเฟยพระสนมเอกของพระจักรพรรดิถังไท่จงอาบน้ำพุร้อนก็เกิดที่นี่ี้  สวนปี้เฉ่าหยวน อยู่ในศาลอู่โหวที่เมืองเฉิงตู สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงขงเบ้งในสมัยสามก๊ก เป็นสวนขนาดกะทัดรัด  สวนส่วนบุคคล กวอจวง ที่เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง  สวนซือจื่อหลินที่มีรูปลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์หยวน
|