ตอนที่ 1 มิถุนาทมิฬ
|
เหวิน เหวิน ณ สวนชั่งชุน |
หากกล่าวว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยต้องคร่ำเคร่งกับการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างมาก นักเรียนชั้นม.ปลายของประเทศต่างๆ ในเอเชียอย่างจีน ญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็มีแรงกดดันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนจีน สถิติของทางการจีน ปีนี้ ( 2006 ) มีนักเรียนม.ปลายสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย ลองมาดูกันว่านักเรียนจีนต้องเตรียมตัวสอบกันอย่างไร? โดยปกติพวกเขาต้องเรียนหนังสือ 6 วันต่อสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่เช้า 7.30 น. จนถึงดึกราว 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน จึงจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านหรือหอพัก ยิ่งใกล้วันสอบก็ยิ่งเครียดมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ในขณะที่ไทยสอบกันปีละ 2 ครั้ง แต่ที่ จีนจัดสอบเพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยกำหนดให้สอบติดต่อกัน 3 วันในช่วงต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี ทำให้เดือนมิถุนายนถูกเรียกขานอย่างน่าสะพึงกลัวว่า “ มิถุนา -
เมื่อครั้งที่อยู่ปักกิ่ง เหวินเหวินได้ไปเที่ยววัดขงจื่อ () และกั๋วจื่อเจียน
การสอบคัดเลือกของจีนนั้นสามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ถังที่เรียกว่า “ การสอบ จอหงวน ” ( ตามบันทึก ซุนฝูเจียได้รับเลือกให้เป็นจอหงวนคนแรก ในปีค.ศ. 622 ) เพียงแต่ในอดีตเป็นการสอบคัดเลือกเพื่อเป็นขุนนาง ตำราที่ใช้สอบคือตำราทั้ง 4 คัมภีร์ทั้ง 5 ซึ่งเป็นตำราและคัมภีร์ของลัทธิขงจื้อ ทำให้ผู้เข้าสอบต้องท่องจำตำราทั้งหมด เพื่อไปตอบคำถาม เป็นเวลา 1,000 กว่าปีแล้วที่การสอบคัดเลือกฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีน วิธีการสอบในปัจจุบันก็ไม่แตกต่างไปจากอดีตมากนัก นักเรียนยังต้องจดจำตำราเรียนวิชาต่างๆ มากมาย เช่น ภาษาและวรรณคดีจีน คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ นักเรียนมักจะสนใจจดจำแต่เนื้อหาที่จะออกข้อสอบโดยละเลยเนื้อหาที่เป็นความรู้จริงๆ ไปเสีย ปัจจุบันนักการศึกษาและครูบาอาจารย์เริ่มเป็นกังวลกับพฤติกรรมของนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ เพราะเมื่อเทียบกับหนุ่มสาวในรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่มักจะมีความเป็นผู้ใหญ่น้อยกว่า พวกเขามักจะคร่ำเคร่งแต่กับการเรียนจนห่างไกลจากสังคมและผู้คน การปรับตัวเข้ากับสังคมจึงด้อยกว่า ผู้จัดการบริษัท ผู้คนส่วนใหญ่อาจเห็นว่าการสอบแข่งขันเป็นวิธีการที่ยุติธรรมในการคัดเลือกคนเก่งเข้าสู่มหาวิทยาลัย แต่หลายคนกลับมองเห็นความไม่ยุติธรรมของระบบคะแนนมณฑล คือแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดคะแนนขั้นต่ำในการรับนักเรียนจากแต่ละมณฑลแตกต่างกันไป ลองสังเกตจากตัวอย่างคะแนนสอบขั้นต่ำของนักเรียนแต่ละมณฑลที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปี 2006 คะแนนขั้นต่ำของนักเรียนจากเซี่ยงไฮ้น้อยที่สุดทั้ง 2 สาย โดยสายอักษรศาสตร์น้อยกว่านักเรียนจากมณฑลยูนนานถึง 113 คะแนนและสายวิทยาศาสตร์น้อยกว่านักเรียนจากทิเบตถึง 123 คะแนน ตัวอย่างคะแนนสอบขั้นต่ำของนักเรียนแต่ละมณฑลที่ได้เข้าศึกษาใน
ค่านิยมเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชียแทบไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งสร้างความกดดันให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก จุดมุ่งหมายของการศึกษาย่อมไม่ใช่เพียงการสอบคัดเลือกหรือการได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เราควรทำอย่างไรให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ? โปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักเรียนที่สอบเข้าม.ปักกิ่งและม.ชิงหัว |