ศิลปะกับสุรา

ศิลปะกับสุรา

 


ศิลปะกับสุรา


เรื่อง จางโล่วเทา

นิตยสารภาพจีน
ปีที่ 2 ฉบับที่ 18 เดือนเมษายน 2532


     

    คนจีนดื่มสุรามากว่า 3,000 ปีแล้ว นักเขียนตัวหนังสือลายมือศิลปะและ
จิตรกรจำนวนมากในสมัยโบราณมีความผูกพันกับสุราอย่างแยกกันไม่ออก
เมื่อดื่มสุราหมดไป 3 จอก ถ้อยคำสำนวนในการวาดการเขียนก็จะหลั่งไหล
ออกมาอย่างคมคายลึกซึ้ง ผลงานดังกล่าวนี้มีแสดงให้เห็นมากมายใน
‘‘การประกวดภาพวาดและตัวหนังสือลายมือศิลปะในหัวเรื่องบุคคลสำคัญใน
ประวัติศาสตร์กับสุรา’’ ที่ปักกิ่ง การประกวดชิงรางวัลครั้งนี้จัดขึ้นโดยนิตยสาร
ภาพจีน หนังสือพิมพ์เกษตรรายวัน (หนงหมินยึเป้า) และหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ
รายสัปดาห์ โดยยกเอาทัศนะของกวี จิตรกรและนักเขียนตัวหนังสือลายมือ
ศิลปะ มาแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกลั่นสุราที่มีประวัติมายาวนานของจีน
และสะท้อนให้เห็นถึงนิทานพื้นบ้านที่มีชีวิตชีวาของบุคคลสำคัญกับสุรายุค
สมัยต่างๆ

    ผลงานเกือบ 10,000 ชิ้น ที่ส่งมาจากฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์และจากที่ต่างๆ
ในประเทศจีน ได้ใช้ฝีมือและท่วงทำนองที่แตกต่างกันมาสร้างภาพในชื่อเดียวกัน
คือ ‘‘บุคคลสำคัญกับสุรา’’ หลี่ไป๋กวีสมัยราชวงศ์ถังซึ่งได้ฉายาว่า ‘‘เซียนสุรา’’
ในประวัติศาสตร์ เป็นเป้าหมายของพู่กันของบรรดาจิตรกร ตัวอย่างเช่นภาพ
‘‘อารมณ์กาพย์กลอนหลี่ไป๋’’ ที่ได้รับรางวัล ใช้วิธีการวาดภาพโดยลงสีหมึกทับ
ซึ่งหมายถึงการเมาสุรา

    เมื่อเปรียบเทียบกับภาพวาดแล้ว การเขียนตัวหนังสือลายมือศิลปะดูเหมือน
มีผู้คนชมชอบกว้างขวางกว่า นักเขียนตัวหนังสือลายมือศิลปะที่เข้าร่วมการประกวด
ชิงรางวัลครั้งนี้ มีตั้งแต่ผู้เฒ่าวัยไม้ใกล้ฝั่งไปจนถึงเด็กเยาวชน ผลงานที่ส่งมามี
จำนวนมากและหลากหลายรูปแบบเช่นขนาดตัวหนังสือก็มีตั้งแต่ขนาดจิ๋วเท่าหัว
แมลงวันไปจนถึงใหญ่หลายฟุต วิธีการเขียนก็มีทั้งแบบตัวบรรจงและแบบตัวหวัด
เป็นต้น

หลี่ไป๋เมาสุรา โดย ซูลิ่วเผิง สมัยราชวงศ์ชิง

 

ชาวนาเร่าสุรา โดย ฟั่นเจิง

 

Date

27 เมษายน 2564

Tags

พิณ หมากรุก ลายสือศิลป์ ภาพวาด