สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ-ค.ศ 220) ขุนนางหญิงปันเจหยูได้เขียนกลอนพรรณนาพัดว่า “ใช้ผ้าแพรสีขาวตัดเป็นรูปทรงกลมทำเป็นพัด หน้าพัดขาวบริสุทธิ์ปานหิมะ พัดรูปทรงกลมราวกับพระจันทร์อันสว่างไสว” จากบทกลอนนี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีพัดเป็นของใช้ประจำวันแล้ว ตามหนังสือ กู่จิ้นจู้ (อรรถาธิบายโบราณคดีและปัจจุบันคดี) ซึ่งชาวจิ้นเรียบเรียงขึ้นได้บรรยายไว้ว่า ก็ใช้พัดในงานพระราชพิธีอยู่แล้ว เมื่อถึงราชวงศ์โจวตะวันตก ผู้คนก็สนใจประดิดประดอยพัดให้สวยงาม เช่น วาดภาพบนหน้าพัด ประดับลูกตุ้มหยกที่ด้ามจับ เป็นต้น พอถึงราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ถัง พัดมีการพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว ยุคนี้นิยมพัดหวันซ่านมาก พัดหวันซ่านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พัดกงซ่าน (พัดพระราชวัง) หรือเรียกอีกว่า พัดเหอหวนซ่าน(พัดหนุ่มสาวจู๋จี๋)
 พัดประดับพระเกียรติที่สาวใช้ถือ วาดโดย เหยียนลี่เปิ่นสมัยราชวงศ์ถัง
วัสดุที่ใช้ทำหน้าพัดโดยทั่วไปใช้ผ้าแพรเป็นหลัก ผ้าแพรบางใสราวกับปีกจักจั่น หน้าพัดมีหลายรูปทรง รูปทรงกลม รูปไข่ รูปดอกไห่ถาง รูปดอกเหมย รูปดอกทานตะวัน รูปหกเหลี่ยมหรือรูปแปดเหลี่ยมก็มี ส่วนด้ามจับของพัด ค่อนข้างพิถีพิถัน วัสดุที่ทำโครงพัด มีไม้ทาแลกเกอร์ ไม้ไผ่ งาช้าง ไม้เนื้อแข็ง กระดูกสัตว์ ฯลฯ จิตรกรและนักเขียนอักษรลายมือ ผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นก็เขียนตัวอักษรประดับพัดกลมนี้ด้วย ในหนังสือ จิ้นชู (หนังสือประวัติราชวงศ์จิ้น) เขียนไว้ว่า หวังซีจือเขียนตัวอักษรไว้บนหน้าพัดให้ยายเฒ่าคนหนึ่ง เพื่อให้ยายเอาไปขายเลี้ยงครอบครัว โจวฝางสมัยราชวงศ์ถังวาดภาพ “หญิงในวังถือพัดกลม” ภาพนี้วาดเป็นภาพหญิงผู้สูงศักดิ์คนหนึ่ง ในมือถือพัดกลมขนาดเล็กอันหนึ่ง ส่วนสาวใช้ถือพัดกลมขนาดใหญ่อยู่ข้างๆ บนหน้าพัดกลมใหญ่นี้มีภาพวาดหงส์คู่ด้วย
 พัดกลมสมัยราชวงศ์ซ่ง
มาถึงราชวงศ์ซ่งใต้-เหนือ ก็นิยมพัดที่ทำจากใบปาล์มและพัดที่ทำด้วยขนนก แต่พัดรูปทรงกลมเป็นหลักฐานทางวัตถุโบราณที่ขุดพบได้ที่สุสาน และพัดที่เก็บสะสมไว้ที่พระราชวังโบราณ ตั้งแต่ราชวงศ์ซ่งเหนือเริ่มมีช่างรับวาดภาพบนหน้าพัดและมีร้านรับเขียนตัวอักษรบนหน้าพัดแล้ว พวกเค้าค้าขายพัดเป็นธุรกิจ ช่วงนี้ผู้คนในสังคมนิยมค้าขายพัด เล่นพัด สะสมพัดด้วย ไม่เพียงแต่จำหน่ายภายในประเทศ ยังส่งพัดผ้าแพรเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ปัจจุบันนิยมพัดพับ บางคนเข้าใจว่าพัดพับเผยแพร่มาจากต่างประเทศ บางคนเข้าใจว่าพัดพับมีอยู่ในจีนแต่โบราณแล้ว มีเอกสารหลักฐานที่ตรวจสอบได้ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือนั้นก็มีพัดพับใช้อยู่แล้ว เมื่อถึงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงการใช้พัดพับก็เจริญรุ่งเรือง เนื่องจากราชสำนักมีจิตรกรแสดงฝีมือไว้ในพัดพับ จึงทำให้พัดพับเป็นศิลปหัตถกรรมที่แสดงศิลปะระดับสูงชนิดหนึ่ง เฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ทำโครงพัดก็มีทอง หยก งาช้าง กระดองเต่า เขาสัตว์ ไม้กฤษณา ไม้จันทร์หอม ไม้ทาแล็กเกอร์ ไม้พ่นสีผงทอง ไม้ไผ่สีม่วง ไม้ไผ่ลาย ฯลฯ ในจำนวนนี้โครงพัดที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่มีลวดลายแกะสลักได้รับความนิยมชมชอบในหมู่ปัญญาชน |
 ลวดลายบนโครงพัดที่ทำด้วยไม้ไผ่
ศิลปะการแกะสลักบนโครงพัดตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงจนถึงปัจจุบัน มีช่างแกะสลักที่มีชื่อเสียงหลายคน ลวดลายที่แกะสลักบนโครงพัด มีทิวทัศน์ภูเขา แม่น้ำ ดอกไม้ นก สัตว์ ตัวอักษร ภาพวาดเกี่ยวกับวัตถุโบราณตลอดจนภาพบุคคล งานแกะสลักเสลาลวดลายประณีตบรรจงมาก
 ร้านรับวาดหน้าพัดฝูเฉิง สมัยราชวงศ์ชิงแห่งกรุงปักกิ่ง
ส่วนหน้าพัดนั้นยิ่งทำให้เห็นฝีมือของจิตรกร วัสดุที่ใช้ทำหน้าพัดมีทั้งกระดาษและผ้าแพร แต่โดยทั่วไปทำด้วยกระดาษเป็นหลักหน้าพัดสีขาวส่วนมากทำด้วยกระดาษซวนจื่อหรือกระดาษสา สีกระดาษหน้าพัดมีหลากหลาย เช่นสีดำ หรือพื้นสีดำแล้วแต่งแต้มลายจุดสีทอง ฯลฯ สมัยราชวงศ์หมิงและราชววงศ์ชิงงานศิลปะหน้าพัดของถางโป๋หู่ เจิ้งป่านเฉียว และเยิ่นโป๋เหนียนเป็นของล้ำค่ามาก แม้แต่ในยุคใกล้เคียง ผลงานหน้าพัดของจางต้าเชียน และฉีไป๋สือก็มีราคาสูง ด้ามละหมื่นหยวนขึ้นไป ยุคนี้เริ่มแสดงให้เห็นว่าผู้คนลุ่มหลงศิลปะหน้าพัดจริงๆ

ผลงานหน้าพัดที่วาดโดยฉีไป๋สือ จิตรกรที่มีชื่อเสียง
หลังจากพัดมีอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนแล้วบทบาทของพัดก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ตั้งแต่ใช้พัดปัดไล่ยุงและแมลงวัน ใช้กันแดดกันลม ใช้ในงานพระราชพิธี ใช้ในห้องพัก ประดับตัว ตลอดจนให้นักเล่นของเก่าเก็บสะสม บางทีใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงบนเวที บางทีเป็นข้อมูลเขียนไว้เป็นผลงานในวรรณคดี บ้างก็เอาพัดประดับเป็นเครื่องหมายการค้าพัดได้กลายเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุชนิดหนึ่ง ถ้าหากแบ่งแยกพัดตามพื้นที่ ก็อาจแยกเป็นพัดซูโจว พัดหังโจว พัดเสฉวน พัดอานฮุย พัดเจียงซี ฯลฯ พัดจากแต่ละแห่งจะมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
พัดกลมที่ทำสำหรับพัดเตาไฟ
|