จางเหิง

จางเหิง

 

 

จางเหิง
ผู้สร้างเครื่องวัดแผ่นดินไหวก่อนฝรั่ง 1,700 ปี



นิตยสารภาพจีน
1987 ฉบับพิเศษ 2
 


      จางเหิง (张衡 ค.ศ. 78 - 139) คนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชาวอำเภอหนานหยาง มณฑล
เหอหนานเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมในสมัยโบราณของจีน

      จางเหิงมีความขยันหมั่นเพียรชอบศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่เด็ก พออายุได้ 17 ปีก็เริ่มออกไป
ท่องเที่ยวแถวซีอานซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน จากนั้นก็ไปเมืองลั่วหยางและเลยเข้าศึกษาอยู่ที่ไท่เสวีย สำนัก
ศึกษาขั้นสูงสุดในสมัยนั้นค้นคว้าดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

      ค.ศ.100 เมื่อกลับสู่บ้านเดิมแล้ว จางเหิงได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ให้ผู้ว่าราชการแคว้นหนาน
หยาง ค.ศ.110 จางเหิงได้รับสนองพระบรมราชโองการเข้าดำรงตำแหน่งมหาอำมาตย์ฝ่ายวังหลวง
และมหาอำมาตย์ฝ่ายดาราศาสตร์และปฏิทินตามลำดับ ท่านอยู่ในตำแหน่งหลังนี้นานถึง 14 ปี และ
ได้สร้างคุณูปการไว้อย่างใหญ่หลวง

      วงการดาราศาสตร์ของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกมีการอธิบายเรื่องฟ้าดินไว้หลายอย่าง
อย่างหนึ่งเรียกว่าทฤษฎีว่าด้วยจักรกล อธิบายว่าฟ้ากับดินนั้นเป็นรูปกลมฟ้าอยู่รอบนอก มีลักษณะ
เหมือนเปลือกไข่ ดินหรือพื้นโลกนั้นอยู่ด้านใน มีลักษณะเหมือนไข่แดง จางเหิงได้สืบทอดและพัฒนา
ทฤษฎีที่ว่าด้วยจักรวาลโดยผ่านการสำรวจค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี ในบทนิพนธ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญ
มากเรื่อง “หลิงเซี่ยน” ท่านได้ชี้ไว้ว่า จักรวาลนั้นไม่มีที่สิ้นสุดทั้งในทางกาละและเทศะแสงของพระ
จันทร์ เกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์ ยังได้อรรถาธิบายถึงสาเหตุที่เกิดจันทรุปราคาได้อย่างถูกต้อง

      เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว ในค.ศ.117 จางเหิง
ได้สร้างเครื่องเอกภพจำลองพลังน้ำขึ้นเครื่องหนึ่ง ส่วนสำคัญของเครื่องเอกภพจำลองของท่านเป็น
ลูกกลมข้างในกลวงที่หล่อด้วยทองแดงบริสุทธิ์  ลูกทองแดงนี้จะหมุนไม่หยุดด้วยแรงดันของน้ำที่ไหล
อยู่อย่างสม่ำเสมอ อัตราความเร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก  บนลูกทองแดงมีเครื่องหมายแสดง
จุดที่ตั้งของกลุ่มดาวต่างๆ เท่าที่สำรวจตรวจพบ และรอบๆ ลูกทองแดงยังมีวงกลมอยู่หลายวง เป็นเครื่อง
หมายแทนวงโคจรของโลก  เส้นศูนย์สูตรและเส้นเมอริเดียน ผู้คนเมื่อดูลูกทองแดงนี้แล้วก็สามารถ
เข้าใจถึงสภาพการโคจรของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้าได้

      ค.ศ.132 ท่านได้ประดิษฐ์เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องวัดแรกของโลกขึ้น  เครื่องวัดแผ่นดินไหวนี้
ทำด้วยทองแดง รูปร่างคล้ายเหยือกเหล้าของจีนสมัยโบราณ ข้างบนมีฝานูนที่เปิดปิดได้  รอบๆ เหยือก
มีมังกร 8 ตัวหล่อติดอยู่ เป็นสัญลักษณ์แห่งทิศทั้ง 8 มังกรแต่ละตัวอมลูกทองแดงไว้ในปากตัวละลูกใต้
มังกรแต่ละตัวมีคางคกนั่งเงยหน้าอ้าปากกว้างอยู่ตัวหนึ่ง กลางเหยือกด้านในมีเสาทองแดงตั้งอยู่ต้นหนึ่ง
สูง 1.88 เมตร เสาทองแดงนี้ทำหน้าที่เหมือนแกนแกว่งบนเครื่องวัดแผ่นดินไหวในปัจจุบัน รอบเสา
ทองแดงมีคานงัด 8 หมู่ ปลายข้างหนึ่งของคานงัดจ่อที่เสาทองแดง อีกข้างหนึ่งเป็นส่วนบนของหัวมังกร
ที่อยู่นอกเหยือก  เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นแผ่นดินไหวที่มาตามทิศทางของแผ่นดินไหวจะทำให้เสาทอง
แดงเอียงไปตามทิศทางนั้น ดันให้คานงัดปากมังกรอ้าออก แล้วลูกทองแดงก็จะหล่นลงไปในปากคางคก
ทำให้เกิดเสียงดังกังวาน  จากนี้ผู้คนก็จะรู้เวลาและทิศทางที่เกิดแผ่นดินไหวได้

     วันหนึ่งในค.ศ.138 เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ตั้งอยู่ในกรุงลั่วหยาง เกิดไหวขึ้นอย่างฉับพลัน  ทอง
แดงลูกหนึ่งหล่นจากปากมังกรที่อยู่ทางทิศตะวันออก ตกลงไปในปากคางคก แต่เวลานั้นคนในเมือง
หลวงหารู้ไม่ว่าได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นแม้แต่น้อย จึงเกิดความสงสัยในเครื่องอุปกรณ์เครื่องนี้ แต่หลังจาก
นั้นไม่กี่วัน หลงซี (ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ก็ส่งม้าเร็วมารายงานว่าเมื่อสอง
สามวันก่อนได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่นั่น ทำให้ผู้คนหมดความสงสัยและมีความเลื่อมใสในเครื่องวัดแผ่น
ดินไหวนี้อย่างแท้จริง



เครื่องวัดแผ่นดินไหวจำลอง

 

สุสานจางเหิงที่อำเภอหนานหยางมณฑลเหอหนาน

Date

27 เมษายน 2564

Tags

บทความจากนิตยสารภาพจีน