มิถุนาทมิฬ (
Black June ) 1


เหวิน เหวิน ณ สวนชั่งชุน
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.



       

         หากกล่าวว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยต้องคร่ำเคร่งกับการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างมาก นักเรียนชั้นม.ปลายของประเทศต่างๆ ในเอเชียอย่างจีน ญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็มีแรงกดดันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนจีน

         สถิติของทางการจีน ปีนี้ ( 2006 ) มีนักเรียนม.ปลายสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย
( ) ประมาณ 8.8 ล้านคน แต่สามารถรับเข้าเรียนได้เพียง 2.6 ล้านคน คิดเป็น 29.55% ของผู้เข้าสอบทั้งหมด แม้ว่าตั้งแต่เปิดประเทศในปี 1978 อัตราการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนจีนจะเพิ่มขึ้นจาก 1.5% เป็น 20% แล้วก็ตาม

         ลองมาดูกันว่านักเรียนจีนต้องเตรียมตัวสอบกันอย่างไร? โดยปกติพวกเขาต้องเรียนหนังสือ 6 วันต่อสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่เช้า 7.30 น. จนถึงดึกราว 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน จึงจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านหรือหอพัก ยิ่งใกล้วันสอบก็ยิ่งเครียดมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ในขณะที่ไทยสอบกันปีละ 2 ครั้ง แต่ที่ จีนจัดสอบเพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยกำหนดให้สอบติดต่อกัน 3 วันในช่วงต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี ทำให้เดือนมิถุนายนถูกเรียกขานอย่างน่าสะพึงกลัวว่า “ มิถุนา -
ทมิฬ ” ( Black June )

 

          เมื่อครั้งที่อยู่ปักกิ่ง เหวินเหวินได้ไปเที่ยววัดขงจื่อ () และกั๋วจื่อเจียน
( หน่วยงานทางการศึกษาระดับสูงของยุคศักดินา ) ใกล้ๆ กับยงเหอกง (วัดลามะ) เห็นป้ายไม้สีแดงแขวนเรียงรายเป็นแถวยาวเต็มไปหมด ด้วยความสงสัยจึงเข้าไปสังเกตดูใกล้ๆ ถึงได้ทราบว่า ป้ายไม้เหล่านี้เป็นป้ายไม้ซึ่งนักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาเขียนขอพรให้ตนเองสมปรารถนาในการสอบ สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันได้ แม้ว่าคนจีนส่วนใหญ่จะไม่นับถือศาสนาใดก็ตาม แต่ในช่วงที่มีความเครีดและกดดันสูงเช่นนี้ นักเรียนจีนก็ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจเพื่อสร้างความมั่นคงในจิตใจของตนเองเช่นกัน

 


ขอให้ตนเองประสบความสำเร็จในการเรียน ความฝันกลายเป็นจริง

 

 


ประสบความสำเร็จในการเรียน ตอบแทนบุญคุณบ้านเมือง

 

 


ประสบความสำเร็จ สมความปรารถนา สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ในครั้งเดียว

 

 


ขอให้ : คุณพ่อคุณแม่แข็งแรง ตนเองสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันได้

 

    การสอบคัดเลือกของจีนนั้นสามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ถังที่เรียกว่า “ การสอบ จอหงวน ” ( ตามบันทึก ซุนฝูเจียได้รับเลือกให้เป็นจอหงวนคนแรก ในปีค.ศ. 622 ) เพียงแต่ในอดีตเป็นการสอบคัดเลือกเพื่อเป็นขุนนาง ตำราที่ใช้สอบคือตำราทั้ง 4 คัมภีร์ทั้ง 5 ซึ่งเป็นตำราและคัมภีร์ของลัทธิขงจื้อ ทำให้ผู้เข้าสอบต้องท่องจำตำราทั้งหมด เพื่อไปตอบคำถาม

    เป็นเวลา 1,000 กว่าปีแล้วที่การสอบคัดเลือกฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีน วิธีการสอบในปัจจุบันก็ไม่แตกต่างไปจากอดีตมากนัก นักเรียนยังต้องจดจำตำราเรียนวิชาต่างๆ มากมาย เช่น ภาษาและวรรณคดีจีน คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ นักเรียนมักจะสนใจจดจำแต่เนื้อหาที่จะออกข้อสอบโดยละเลยเนื้อหาที่เป็นความรู้จริงๆ ไปเสีย

    ปัจจุบันนักการศึกษาและครูบาอาจารย์เริ่มเป็นกังวลกับพฤติกรรมของนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ เพราะเมื่อเทียบกับหนุ่มสาวในรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่มักจะมีความเป็นผู้ใหญ่น้อยกว่า พวกเขามักจะคร่ำเคร่งแต่กับการเรียนจนห่างไกลจากสังคมและผู้คน การปรับตัวเข้ากับสังคมจึงด้อยกว่า ผู้จัดการบริษัท
ซอฟแวร์แห่งหนึ่งให้ความเห็นว่า “ ผมพบนักศึกษาจบใหม่จำนวนมากที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ แต่จัดการกับงานและชีวิตไม่ได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่ดูแลเอาใจใส่มากเกินไป และสังคมก็สอนให้เรียนมากกว่าให้คิด ”

        ผู้คนส่วนใหญ่อาจเห็นว่าการสอบแข่งขันเป็นวิธีการที่ยุติธรรมในการคัดเลือกคนเก่งเข้าสู่มหาวิทยาลัย แต่หลายคนกลับมองเห็นความไม่ยุติธรรมของระบบคะแนนมณฑล คือแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดคะแนนขั้นต่ำในการรับนักเรียนจากแต่ละมณฑลแตกต่างกันไป ลองสังเกตจากตัวอย่างคะแนนสอบขั้นต่ำของนักเรียนแต่ละมณฑลที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปี 2006 คะแนนขั้นต่ำของนักเรียนจากเซี่ยงไฮ้น้อยที่สุดทั้ง 2 สาย โดยสายอักษรศาสตร์น้อยกว่านักเรียนจากมณฑลยูนนานถึง 113 คะแนนและสายวิทยาศาสตร์น้อยกว่านักเรียนจากทิเบตถึง 123 คะแนน

ตัวอย่างคะแนนสอบขั้นต่ำของนักเรียนแต่ละมณฑลที่ได้เข้าศึกษาใน
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปี 2006

มณฑล / มหานคร

อักษรศาสตร์

 

มณฑล / มหานคร

วิทยาศาสตร์

เซี่ยงไฮ้

559

 

เซี่ยงไฮ้

568

เทียนจิน

575

 

ชิงไห่

583

หนิงเซี่ย

611

 

ซานซี

631

ซานซี

617

 

เจียงซี

638

เจียงซู

625

 

เหลียวหนิง

642

ซีจั้ง (ทิเบต)

625

 

เทียนจิน

643

ปักกิ่ง

626

 

กว่างซี

645

เจียงซี

628

 

เหอหนาน

654

เหอเป่ย

628

 

กุ้ยโจว

655

ซื่อฉวน (เสฉวน)

630

 

หูหนาน

655

เหลียวหนิง

631

 

ซานตง

657

กุ้ยโจว

633

 

ซินเจียง

658

มองโกเลียใน

635

 

ปักกิ่ง

661

ชิงไห่

638

 

ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)

661

เหอหนาน

639

 

เหอเป่ย

662

จี๋หลิน

639

 

หนิงเซี่ย

663

ซานตง

640

 

ซื่อฉวน (เสฉวน)

663

ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)

640

 

เจียงซู

670

เฮยหลงเจียง

642

 

มองโกเลียใน

672

ซินเจียง

649

 

ส่านซี

674

กว่างซี

652

 

ฉงชิ่ง

675

ส่านซี

655

 

เจ้อเจียง

676

เจ้อเจียง

656

 

จี๋หลิน

677

ฉงชิ่ง

659

 

เฮยหลงเจียง

678

หูหนาน

668

 

ยวินหนาน (ยูนนาน)

680

ยวินหนาน
(ยูนนาน)

672

 

ซีจั้ง (ทิเบต)

691


         แม้ว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำได้ชื่อว่าชีวิตก้าวเข้าสู่หนทางแห่งความสำเร็จ เป็นการยกระดับและเพิ่มโอกาสให้กับตนเอง แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมีเพียงจำนวนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกคัดออกจากระบบ ซึ่งส่วนหนึ่งไม่อาจยอมรับความจริงนี้ได้กลายเป็นโรคจิตโรคประสาทและหลายคนถึงกับหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายก็มีให้เห็นไม่น้อย และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี

       ค่านิยมเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชียแทบไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งสร้างความกดดันให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก จุดมุ่งหมายของการศึกษาย่อมไม่ใช่เพียงการสอบคัดเลือกหรือการได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เราควรทำอย่างไรให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ?

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักเรียนที่สอบเข้าม.ปักกิ่งและม.ชิงหัว
เพียงนำใบตอบรับของมหาวิทยาลัยมาแสดงเพื่อรับกระเป๋ามูลค่า 500 หยวน
และบัตรกำนัลสำหรับซื้อเครื่องหนัง 500 หยวน

 

 

พิมพ์   อีเมล