ปักกิ่ง นครหลวงอันเก่าแก่ของจีนแห่งนี้ ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นประวัติศาสตร์ของประชาชาติ จีนไว้มากมาย นับแต่แรกสร้างเมืองจวบจนพระจักรพรรดิปูยีเสด็จออกจากตำหนักไท่เหอ อันเป็นพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ของจีนซึ่งต้องก้าวสู่สังคมสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จูตี้ จักพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง ได้มองเห็นความสำคัญของการบูรณะซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกอนารยชน
ปี ค.ศ. 1402 จูตี้ (朱棣) พระโอรสองค์ที่ 4 ของจูหยวนจางซึ่งคุมกำลังพลอยู่ที่พรมแดนด้านเหนือ ได้กรีฑาทัพลงใต้แย่งชิงราชบัลลังก์จากจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นราชนัดดาของพระองค์เอง แล้วปราบดา ภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระนามว่า ‘‘รัชกาลหย่งเล่อ’’ (永乐) ต่อมาในปีค.ศ.1421 ได้ทรงย้ายเมืองหลวง จากนานกิง (หนานจิง 南京) ไปยังปักกิ่ง (เป่ยจิง 北京) ซึ่งเป็นเขตที่พระองค์เคยคุมกำลังตั้งมั่นอยู่ การ ย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้นับเป็นการย้ายเมืองหลวงจากทางใต้ขึ้นเหนือเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์จีน
พระราชวังโบราณ
หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ถังแล้ว ปักกิ่งได้เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ต่างๆ หลายราชวงศ์ ในศตวรรษ ที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 11 รัฐเหลียวซึ่งเป็นชนชาติซีตัน ได้บุกโจมตีรัฐต่างๆ เช่น โฮ่วถัง และโฮ่วจิ้นให้อยู่ใน อำนาจ จากนั้นก็ตั้งปักกิ่งซึ่งเวลานั้นเรียกว่าเมืองเอียนจิง (燕京) เป็นเมืองหลวงที่สองของรัฐเหลียว ต่อมาในศตวรรษที่ 12 - 13 ชนชาติหนี่ว์เจินจากรัฐจินได้ทำการโค่นล้มราชวงศ์เหลียว และราชวงศ์ซ่ง เหนือลงครอบครองดินแดนเกือบครึ่งหนึ่งทางภาคเหนือของจีน สถาปนาเมืองหลวงขึ้นที่ปักกิ่งเรียกว่าเมือง จงตู (中都) ครั้นถึงศตวรรษที่ 13 - 14 พวกมองโกลได้ทำการรวบรวมจีนจนเป็นปึกแผ่น สถาปนาราชวงศ์หยวน ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่ง เรียกว่าเมืองต้าตู (大都) หลังจากที่พวกแมนจูได้โค่นล้มราชวงศ์หมิงลง แล้วสถาปนาราชวงศ์ชิง ปักกิ่งก็ได้เป็นเมืองหลวงของ ราชวงศ์ชิงจนกระทั่งราชวงศ์ชิงหมดอำนาจไปในศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวมานี้คือระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่บรรดาชนชาติส่วนน้อยได้ขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศ จีนถึง 4 ครั้งหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ถัง แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีชนชาติส่วนน้อยขึ้นมามีบทบาทในการการ ปกครองอยู่บ้างแต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในปีค.ศ. 750 อานลู่ซาน ซึ่งเป็นชาวชนชาติส่วนน้อย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอยู่ที่ปักกิ่ง ได้ร่วมมือกับสื่อซือหมิงตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ชื่อจักรพรรดิต้าเอียนและจักรพรรดิอิ้งเทียน ยึดเอาปักกิ่งเป็น ฐานที่มั่นต่อต้านอำนาจรัฐบาลกลางของราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์ถังเสื่อมอำนาจ ลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เป็นผลงานชิ้นสำคัญของนายพลทั้งสองก็คือชื่อของเมืองหลวงที่เขาได้ตั้งไว้คือ ‘‘ต้าตู’’ และ ‘‘เอียนจิง’’ ได้เป็นชื่อที่สำคัญอีกสองชื่อของปักกิ่ง ลักษณะพิเศษประการหนึ่งของปักกิ่งก็คือ ปักกิ่งเป็นเมืองที่หล่อหลอมชนต่างเชื้อชาติให้กลมกลืนกัน ได้เป็นอย่างดี ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันคำกล่าวนี้ยังคงปรากฏให้เห็น แม้ในปัจจุบัน ที่ชัดเจนที่สุด ก็คือตรอกซอยใหญ่น้อยที่มีอยู่มากมายนับพันซอยกระจัดกระจายอยู่ทั่วเมือง ซอยเหล่านี้เรียกว่า ‘‘หูถง’’ (胡同) ซึ่งมาจากภาษามองโกเลียว่า ‘‘ฮัวถง’’ อันเป็นตรอกซอยที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งได้นำ เอารูปแบบการจัดตั้งกระโจมแบบมองโกลมาจัดผังเมืองปักกิ่ง ทว่าในปัจจุบันชาวปักกิ่งที่อาศัยอยู่ในหูถง เหล่านี้แทนที่จะเป็นลูกหลานของเจงกิสข่านกลับกลายเป็นลูกหลานของแมนจูนี่เป็นตัวอย่างการผสมผสาน กลมกลืนของชนต่างเชื้อชาติ
มีคำกล่าวว่า ‘‘ปักกิ่งมีซอยต่างๆ ที่มีชื่อถึง 990 ซอย ที่ไม่มีชื่ออีกนับไม่ถ้วน’’ นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน ชาวปักกิ่งพำนักอยู่ใน ‘‘ซื่อเหอย่วน’’ (บ้านชั้นเดียวที่ปลูกล้อมเป็นกำแพงทั้งสี่ทิศตรงกลางเป็นลาน) ซึ่งปลูกสร้างอยู่ในซอยเหล่านี้
ในระยะเวลาร้อยกว่าปีที่มองโกลปกครองประเทศจีนอยู่นั้น พวกมองโกลไม่ได้รับเอาวัฒนธรรมของ ชาวฮั่นไปเป็นของตน หลังจากที่ราชวงศ์หยวนถูกโค่นล้มลงแล้ว พวกมองโกลก็คืนสู่ท้องทุ่งทางเหนือ โดย ที่ยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีของมองโกลไว้ได้เป็นอย่างดี แต่พวกแมนจูนั้นมีลักษณะตรงกันข้ามกับมองโกล เพราะหลังจากที่แมนจูได้ล้มราชวงศ์หมิงตั้งราชวงศ์ชิง ก็ได้รับเอาปรัชญาความคิดของสำนักหยู (ลัทธิขงจื๊อ เม่งจื๊อ) มาเป็นหลักในการปกครองประเทศ ทั้งยังไม่ถือว่าพวกตนเป็นผู้พิชิต หรือเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่กว่า พวกแมนจูถือว่าประชาชนทั้งแผ่นดินต่างก็คือประชาชาติจีน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ คำสั่งที่ให้ผู้ชายชาวฮั่น ไว้ผมยาวและถักเปียเช่นเดียวกับพวกแมนจู โดยมีการกำหนดโทษถึงตัดหัวหากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ มีคำกล่าวว่า ‘‘ไม่ไว้หางเปียต้องถูกตัดหัว ไม่อยากถูกตัดหัวต้องไว้หางเปีย’’ ซึ่งอีกสองร้อยปีต่อมา กระแสการปฏิวัติ ประชาธิปไตยเริ่มรุนแรงขึ้น ความคิดเรื่องการตัดหางเปียแพร่กระจายไปทั่ว ผู้ชายชาวฮั่นจำนวนมากเห็นว่า หางเปียคือมรดกตกทอดที่บรรพบุรุษมอบให้ ฉะนั้น จึงควรรักษาเอาไว้ นอกจากนี้ชุดกี่เพ้าที่สตรีชาวแมนจู สวมใส่นั้น ก็กลายเป็นเครื่องแต่งกายของสตรีจีนไปด้วย ทุกวันนี้ประเพณีนิยมต่างๆ ของชาวปักกิ่งก็ล้วนสืบ เนื่องมาจากชนชาติแมนจูเป็นส่วนใหญ่
ความสำคัญของกำแพงเมืองจีนเริ่มไม่มีความหมายทางด้านการทหารนับตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ถัง ในค.ศ. 936 สือจิ้งถัง ผู้บัญชาการทหารที่ประจำอยู่แถบกำแพงเมืองจีนได้แบ่งแยกดินแดนทั้งหมด 16 จังหวัดทางด้านตะวันออกของกำแพงเมืองจีนยกให้กับชนชาติส่วนน้อยชีตันซึ่งอยู่ทางเหนือของกำแพง เมืองจีน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือด้านกำลังพลจากชีตัน การกระทำครั้งนี้ของสือจิ้งถังชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลกลางไม่สามารถที่จะพึ่งพากำแพงเมืองจีนเป็นแนวป้องกันได้อีกต่อไป ดังนั้นปักกิ่งจึงกลายเป็นเมือง ศูนย์กลางที่มีชัยภูมิทางยุทธศาสตร์ดีเยี่ยม คือเป็นฐานที่มั่นสำคัญทางการทหารที่สามารถต้านทานกองกำลัง ของพวกชนชาติส่วนน้อยทางเหนือได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหลังจากสมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา ปักกิ่งจึงกลายเป็น เมืองหลวงของราชวงศ์ต่างๆ มาโดยตลอด ในสมัยราชวงศ์เหลียวปักกิ่งยังคงเป็นเมืองหลวงขนาดเล็ก แต่ครั้นถึงสมัยราชวงศ์จินได้มีการสร้างอาคาร สถานที่ต่างๆ มากมาย โดยเป็นการสร้างเมืองเลียนแบบเมืองเปี้ยนเหลียง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) เมืองหลวง ของราชวงศ์ซ่งเหนือ โดยใช้เวลาสร้างนานสามปี ใช้แรงงานประชาชนหนึ่งล้านคนทำงานทั้งวันทั้งคืน เมื่อสร้าง เสร็จจึงได้ชื่อว่าเมือง ‘‘จงตู’’ ครั้นถึงศตวรรษที่ 13 เจงกิสข่านก็นำกำลังบุกเข้าโจมตีและเผาทำลายเมืองจงตู เหลือแต่ซากปรักหักพัง วัตถุสถานที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์มีเพียงสิงโตหินแกะสลักอย่างดี 485 ตัว ซึ่งตั้งอยู่ บนสะพานหลูโกวเฉียวทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจงตู เมื่อพวกมองโกลสถาปนาราชวงศ์หยวนก็ได้สร้าง เมืองใหม่ซึ่งใหญ่โตกว่าเมืองจงตู ตั้งเป็นเมืองหลวงชื่อว่าเมือง ‘‘ต้าตู’’
สะพานหลูโกวเฉียว (สะพานมาร์โค โปโล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์จิน
เมืองต้าตูใช้เวลาก่อสร้างนาน 23 ปี ตัวเมืองแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นพระราชวังและส่วนที่เป็น ตัวเมือง ผังเมืองของต้าตูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวโดยรอบ 60 กิโลเมตร มีประตูเมือง 11 แห่ง ถนน ในเมืองตัดเป็นแนวตั้ง 9 สาย แนวนอน 9 สาย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชนชาติฮั่น ในถนนแต่ละสาย ยังมีตรอกซอยอีก 50 เขต ตัดเป็นตารางหมากรุก บรรดาตำหนักต่างๆ อันเป็นเขตพระราชฐานจะตั้งอยู่ที่ศูนย์ กลางของเมือง ต้าตูเป็นเมืองที่มีระเบียบและสวยงามอย่างยิ่ง ในระหว่างศตวรรษที่ 13 - 14 มาร์โค โปโลนักเดินทาง ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอิตาเลียนได้บันทึกไว้ว่า ‘‘ต้าตูเป็นนครที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบและเป็นนครที่สวยงาม จนยากจะบรรยาย’’ ต้าตูจึงเป็นแบบฉบับแนวคิดในการสร้างเมืองหลวงซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการสืบทอดต่อมาใน สมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง หากมองจากภูเขาจิ่งซาน ซึ่งเป็นเขตที่สูงสุดของปักกิ่งก็จะเห็นทิวทัศน์ของเมืองที่เต็มไปด้วยหลังคา กระเบื้องเคลือบของพระตำหนักต่างๆ เหลืองอร่าม ซึ่งพระตำหนักเหล่านี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ของ ราชวงศ์หมิง ส่วนในสมัยราชวงศ์ชิงนั้นมักนิยมสร้างวัดวาอารามและอุทยาน ในสมัยนี้ได้มีการใช้ทรัพย์สิน เป็นจำนวนมากเพื่อสร้างวัดยงเหอกง (วัดองค์ชายสี่) สร้างหอฟ้า หอดิน หอพระจันทร์และหอพระอาทิตย์ขึ้น ที่ปักกิ่งเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ทั้งยังได้สร้างศาลเจ้าอีก 8 แห่งที่ชานเมืองเฉิงเต๋อ สร้างอุทยานหยวนหมิงหยวน อุทยานอี๋เหอหยวนและอุทยานเป๋ยไห่
หอฟ้า เป็นสถานบวงสรวงในปักกิ่ง ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าชัดเจนกว่าสถานที่อื่นๆ
อุทยานหยวนหมิงหยวนเมื่อ 130 ปีก่อน ได้ถูกกองทัพผสมอังกฤษฝรั่งเศสวางเพลิงเผาทำลายจนหมดสิ้น
อุทยานอี๋เหอหยวนอันเป็นสถานพักผ่อนของพระจักรพรรดิ ซึ่งมีความงดงามของภูเขาวั่นโส้วซาน และทะเลสาบคุณหมิงหู ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของปักกิ่ง
อุทยานเป๋ยไห่ซึ่งมีทัศนียภาพอันงดงามสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์เหลียว ซึ่งต่อมาราชวงศ์จิน หยวนและชิงได้สร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา
จากการที่ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงมานานถึงเกือบ 600 ปี นับแต่สมัยราชวงศ์หยวน บรรดาราชวงศ์ต่างๆ ได้สร้างสรรค์เมืองปักกิ่งเรื่อยมา ทำให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงที่ได้รวมเอาเอกลักษณ์ของเมืองหลวงโบราณไม่ ว่าจะเป็นซีอาน ลั่วหยาง ไคเฟิง นานกิง และหางโจวเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ต่างๆที่ปกครองจีนเมื่อเจริญถึงขีดสุดแล้วก็เสื่อมโทรมล่มสลายจนกระทั่งต่างชาติ เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการเมืองของจีน การรุกรานของต่างชาตินับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปักกิ่ง นครหลวงอันเก่าแก่ของจีนแห่งนี้ ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นประวัติศาสตร์ของประชาชาติจีน ไว้มากมาย นับแต่แรกสร้างเมืองจวบจนพระจักรพรรดิปูยีเสด็จออกจากตำหนักไท่เหอ อันเป็นพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ของจีนซึ่งต้องก้าวสู่สังคมสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
|