พระราชวังโบราณร้อยปีให้หลัง จะเป็นอย่างไร
|
||||
|
คำปรารถ หลายปีมานี้ ผู้คนที่มาท่องเที่ยวเยี่ยมชมพระราชวังโบราณมีจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้นำสิ่งน่ากลัวในความเสียหายมาด้วย ผู้มีวิจารณญาณทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก กันยายน ค.ศ. 1988 หวังเหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจีนได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังโบราณซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของอารยธรรมและประวัติศาสตร์จีน ควรจะเป็นสถานที่ค้นคว้าและทัศนศึกษาชั้นสูงแห่งหนึ่ง ไม่ควรนำไปปะปนกับแหล่งท่องเที่ยวทั่วๆ ไป การเปิดพระราชวังโบราณให้เข้าชมในลักษณะที่จะนำมาซึ่งเสียหายนั้น ควรต้องรีบแก้ไขทันที ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ไปสังเกตการณ์สภาพของพระราชวังโบราณ และเขียนบทความเรื่องนี้ขึ้น พระราชวังโบราณตั้งอยู่ใจกลางเมืองปักกิ่ง มีพลังดึงดูดมาท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสูงในค.ศ. 1988 ผู้มาชมมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกินกว่า 12 ล้านคน ในหน้าท่องเที่ยวแต่ละวันมีผู้เข้าชมถึง 70,000-80,000 คน และสูงสุดถึง 100,000 คน ความคับคั่งของฝูงชนที่หลั่งไหลเข้าไปในพระราชวังโบราณเกือบจะมากกว่าที่ต้าซ่าล่าและหวังฝูจิ่งซึ่งเป็นย่านการค้าที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในปักกิ่ง ปราสาทที่โอ่อ่าสง่างาม ค.ศ. 1406 พระจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงได้ย้ายเมืองหลวงจากนานกิงมาตั้งที่ปักกิ่ง พร้อมกับระดมช่างฝีมือดีจากที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เกณฑ์ชาวนาและพลทหารจำนวน 200,000 ถึง 300,000 คนมาเป็นแรงงานสร้างพระบรมมหาราชวัง ดำเนินงานก่อสร้างติดต่อกันเป็นเวลา 14 ปีนครเขตห้ามจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ชนรุ่นหลังถือว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นผลงานชิ้นเอกในประวัติการก่อสร้างของประเทศจีนทีเดียว ปราสาทไท่เหอเตี้ยนเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดในพระราชวังโบราณ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘‘ปราสาทจินหลวนเตี้ยน’’ เป็นสถานที่ซึ่งจักรพรรดิ 24 พระองค์ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างนครเขตห้ามนี้มีข้อมูลชัดแจ้งอยู่ในเอกสารประวัติศาสตร์ คือ อิฐที่ใช้ปูพื้นในมหาปราสาท 3 หลังนั้น ทางราชสำนักได้กำหนดให้เลือกใช้เฉพาะดินทางฝั่งใต้แม่น้ำแยงซีเกียง และผ่านกรรมวิธีหลายขั้นตอนในการเผาเป็นอิฐ เฉลี่ยแล้วอิฐก้อนหนึ่งมีมูลค่าเท่ากับเงินแท้ 1 ตำลึง ซึ่งในสมัยนั้นสามารถซื้อข้าวได้ 60 กิโลกรัม ในรัชกาลวั่นลี่แห่งราชวงศ์หมิงได้บูรณปฏิสังขรณ์มหาปราสาททั้งสามหลัง เฉพาะวัสดุไม้อย่างเดียว ก็ใช้เงินถึงประมาณ 10 ล้านตำลึง (300 กว่าตัน) นักเขียนคนหนึ่งเคยเขียนไว้ว่า ‘‘ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระนครเขตห้ามพอๆ กับการสร้างเมืองใหญ่ๆ เมืองหนึ่งทีเดียว ถ้าไม่ใช่จักรวรรดิที่มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลและประชากรมากมายมหาศาลแล้ว ก็ไม่อาจที่จะสร้างนครต้องห้ามที่ทำลายสถิติโลกนี้ได้อย่างเด็ดขาด’’ ส่งที่น่ากลัวในความเสียหายของพระราชวังโบราณ ค.ศ. 1961 สำนักนายกรัฐมนตรีจีนได้กำหนดให้พระราชวังโบราณเป็นหน่วยอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุทางด้านวัฒนธรรม ผู้เข้าชมมากมายในแต่ละวัน ได้สร้างภาวะอันหนักอึ้งให้แก่พระราชวังโบราณ อิฐปูพื้นในพระราชวังโบราณซึ่งเหยียบย่ำกันมาเป็นเวลานานปี ประกอบกับถูกลมโกรกฝนชะ จึงเกิดชำรุดเสียหายหนัก แต่ละปีต้องใช้อิฐและหินประมาณ 300,000 ก้อนบูรณะซ่อมแซมพื้นที่และผนังกำแพง อิฐปูพื้นที่แข็งและละเอียดจนสามารถนำมาทำเป็นจานฝนหมึกได้นั้น ถูกเหยียบย่ำจนหมดประกายสีสัน และเป็นรอยเว้าแหว่งเหมือน ‘‘หินลับมีด’’ ที่ใช้มาเป็นเวลานานปี ทางเดินในอุทยานที่สร้างสำหรับพระจักรพรรดิ ราชินีและสนมเสด็จดำเนินในอดีต ทางเดินในอุทยานที่ใช้ก้อนกรวดก้อนหินเล็กๆ ปูเป็นรูปคน ดอกไม้ ใบหญ้า ปลาและแมลงต่างๆ นั้น มีอยู่ไม่น้อยที่ถูกเหยียบย่ำเสียหายไปแล้ว
ซั่นสื้อหยวนที่ปรึกษาของพิพิธภัณฑ์พระราชวังโบราณพูดด้วยความปวดร้าวใจว่า ไม่มีทางที่จะทำให้คืนสภาพเดิมอีกแล้ว ขยะจำพวกเปลือกผลไม้ เศษกระดาษ ก้นบุหรี่และอื่นๆ ที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ในแต่ละวันนั้น พนักงานผู้ทำความสะอาดกว่า 50 คนในพระราชวังโบราณ ต้องเก็บกวาดแบบ ‘‘สางผม’’ ทั่วทั้งพื้นที่ วันละ 5-6 ครั้งทุกๆ วัน ขยะมูลฝอยและอากาศที่เป็นมลภาวะ ทำให้สภาพแวดล้อมในพระราชวังโบราณเลวร้ายยิ่งขึ้น ต้นไม้เก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปีเหี่ยวแห้งตายไป ที่ยังเหลืออยู่ก็เผชิญกับการคุกคามจากภัยพิบัติ มนุษย์เรากำลังทำลายอารยธรรมที่บรรพชนสร้างไว้อย่างไม่ปราณีปราศรัย การเหยียบย่ำของฝูงชนที่มาเที่ยวชม ทำให้พื้นดินเกาะตัวแข็ง และต้นไม้เก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปีในอุทยานพลอยเหี่ยวแห้งตายไปด้วย
ตะปูทองเหลืองที่บานประตูของตำหนักอี้คุนกง ขาดหายไป 23 ดอกที่ถูกผู้เข้ามาชมจงใจถอดไปก็มี หินสลักลวดลายขนาดใหญ่ที่ยาว 16.5 เมตร กว้าง 3.07 เมตรและหนัก 200,000 กิโลกรัม ซึ่งปูอยู่ด้านหลังปราสาทเป่าเหอเตี้ยนนั้น ลำเลียงมาไกลถึง 50 กิโลเมตรด้วยแรงคนหลายหมื่นในสมัยโน้น ต้องฝ่าความหนาวเหน็บฉุดลากมาบนถนนที่เอาน้ำราดให้จับตัวแข็งและลื่นจนกระทั่งถึงพระบรมมหาราชวัง ในอดีต มีแต่พระจักรพรรดิเท่านั้นที่พระราชดำเนินบนแผ่นหินสลักนี้ได้ แต่ปัจจุบัน “ประชาชนธรรมดาสามัญ” ก็เหยียบย่ำไปได้ หินอ่อนที่ขาวสะอาดจึงเปรอะเปื้อนด้วยรอยด่าง ประกอบกับถูกลมฝน จึงเร่งให้เกิดความชำรุดเสียหายเร็วเข้า
“ทางพระราชดำเนินของพระจักรพรรดิ”ที่ปูด้วยหินอ่อนขนาดใหญ่ซึ่งแกะสลักเป็นภาพมหาสมุทร ในพระราชวังโบราณมีโอ่งสัมฤทธิ์ใหญ่เคลือบทองจำนวนมากใส่น้ำตั้งไว้ตามที่ต่างๆ สำหรับดับเพลิง ค.ศ. 1900 กองทัพผสม 8 ชาติรุกเข้ามาในปักกิ่ง แล้วบุกเข้าปล้นสะดม พระบรมมหาราชวัง แม้แต่ทองที่เคลือบโอ่งสัมฤทธิ์ก็ยังขูดลอกเอาไป ทุกวันนี้โอ่งสัมฤทธิ์ก็ยังถูก “ปล้นสะดม” อีก ผู้คนที่เข้าชมเนื่องด้วยเห็นโอ่งสัมฤทธิ์เป็นของแปลก บางคนก็เข้าไปเคาะดู บางคนก็เข้าไปขูดดู บางคนก็เข้าไปโยกดูอย่างไม่ปราณีปราศรัย บางคนที่จิตละโมบทำร้ายกาจยิ่งกว่านั้นพวกเขาพากันขูดจะเอาเศษทองที่เหลือติดอยู่บนโอ่งสัมฤทธิ์
บนผนังแดงด้านนอกของตำหนักอี้คุนกงถูกขีดเขียนเป็นตัวหนังสือขนาดเขื่องเต็มไปหมด มีประมาณ 200 แห่งในเนื้อที่ผนังยาวเพียง 50 เมตร และผนังด้านนอกสองข้างของปราสาทไท่จี๋เตี้ยนก็มีรอยขูดดูอีกมากมายนับไม่ถ้วน ข้อห้ามขีดเขียนตัวหนังสือบนที่ก่อสร้างโดยปรับตัวละ 5 หยวน ก็ไม่สามารถต้านทานคนไร้จิตสำนึกได้ ที่ตำหนัก ‘‘ซีลิ่วกง’’ (6 ตำหนักด้านตะวันตก) ตามระเบียงส่วนใหญ่จะมีภาพผนัง เช่นที่ตำหนักฉางชุนกงมีภาพผนังเรื่อง ‘‘ความรักในหอแดง’’ 10 กว่าภาพที่วาดในรัชกาลพระจักรพรรดิกวางสู นับว่าเป็นสิ่งมีค่ามาก แต่เวลานี้ส่วนใหญ่เลือนลางไม่ชัดเจนแล้ว กระทั่งภาพคนก็ถูกขุดขีดใบหน้าเป็นริ้วรอย ห้องโถงและธรณีประตูใต้ตำหนักด้านตะวันตก 6 ตำหนัก สิ่งก่อสร้างในพระราชวังโบราณส่วนใหญ่เป็นโครงไม้จึงห้ามสูบบุหรี่ภายในเขตนี้ แต่ผู้มาเที่ยวชมที่สูบบุหรี่อยากสูบเมื่อไร หลังป้าย ‘‘ห้ามสูบบุหรี่’’ ยังมีคนกระทำในสิ่งที่ไม่รับผิดชอบ ภาพอนาคตของพระราชวังโบราณ สิ่งที่น่ากลัวในความเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเปิดพระราชวังโบราณให้ผู้คนเข้าชมในลักษณะทำลาย และการให้สัมภาษณ์ของหวังเหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้บุคคลในวงการและแผนงานที่เกี่ยวข้องสนใจและกังวลในเรื่องนี้มาก วันที่ 1 มกราคม 1989 พิพิธภัณฑ์พระราชวังโบราณได้ใช้วิธีการใหม่ในการเปิดให้ผู้คนเข้าชม คือ ควบคุมจำนวนผู้คนที่เข้าชม เปลี่ยนเส้นทางการเข้าชม ขายบัตรเข้าชมอุทยานเฉพาะเมื่อมีคนจะเข้าชมเป็นจำนวนมาก และจำกัดผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยวันละ 25,000 คน วันหยุดงานหรือวันเทศกาลไม่เกิน 30,000 คน สภาพแออัดยัดเยียดในอดีตจึงผ่อนคลายลงบ้าง ประกอบกับบัตรผ่านประตูอุทยานขึ้นราคาเป็นใบละ 2 หยวน (ประมาณ 12 บาท ข้อมูลค.ศ. 1989) ผู้คนที่จะเข้าเที่ยวชมจึงต้องตรองมากขึ้น ในช่วงนี้จึงมีคนเข้าชมอุทยานไม่ถึง 1ใน 4 ของจำนวนคนที่เข้าชมพระราชวังโบราณ อุทยานอันเก่าแก่จึงมีโอกาสได้ ‘‘หายใจ’’ บ้าง พระราชวังโบราณซึ่งได้ผ่านมรสุมมาเกือบ 600 ปีนี้
ควันพลุ่งโพลงออกมาจากห้องเตาหม้อน้ำรมสิ่งก่อสร้างโบราณอยู่ชั่วนาตาปี กองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง ‘‘จักรพรรดิองค์สุดท้าย’’ และกองถ่ายทำภาพยนตร์อื่นๆ ได้เข้ามาถ่ายภาพยนตร์ในพระราชวังโบราณหลายครั้งหลายหน เรื่องนี้ทางสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติก็ได้ให้ความสนใจและเรียกร้องให้มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด รัฐบาลได้ให้งบประมาณบำรุงรักษาพระราชวังโบราณปีละประมาณ 2 ล้านหยวน (ประมาณ 12 ล้านบาท) บันไดหินอ่อนที่หน้าปราสาทไท่เหอเตี้ยนเป็นที่รวมศูนย์ของผู้เข้าเที่ยวชม
|